Journal
วารสาร


Declnie in pneumonia admissions after routine childhood immunisation with pneumococcal conjugate vaccine in the USA: a time-series analysis

Carlos G Grijalva,
J Pekka Nuorti,
Patrick G Arbagast,
Stacey W Martine,
Kathryn M Edwards,
Marie R Griffin Lancet 2007
369

หลังจากที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้นำวัคซีนนิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต (Pneumococcal Conjugate Vaccine 7-Valent, PCV7) เข้าไปในโปรแกรมวัคซีนแห่งชาติตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000  พบว่ามีการลดลงของการเกิดโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดรุนแรง (Invasive Pneumococcal Diisease; IPD) อย่างเห็นได้ชัด แต่ผลของการฉีดวัคซีนนี้ต่อผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรง พยาบาลนั้นยังไม่เคยมีการประเมิน ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ทำการประเมินผลของการใช้วัคซีน PCV7 ต่ออัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่เกิดจากทุก สาเหตุและที่เกิดจากเฉพาะเชื้อนิวโมคอคคัส
วิธีการศึกษา
ข้อมูลจาก Nationwide Inpatient Sample ซึ่งเป็นฐานข้อมูลคนไข้ในที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐ ได้ถูกนำมาวิเคราะห์ด้วย interrupted time-series analysis โดยใช้อัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่เกิดจาก ทุกสาเหตุและที่เกิดจากเฉพาะเชื้อนิวโมคอคคัสเป็นผลลัพธ์หลัก โดยเปรียบเทียบอัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ ต่อเดือนระหว่างช่วงปีที่ได้รับวัคซีน PCV7 แล้ว (ค.ศ. 2001-2004) และช่วงปีก่อนที่จะได้รับวัคซีน PCV7 (ค.ศ. 1997-1999) โดยไม่รวมปีที่เริ่มฉีดวัคซีน (ค.ศ. 2000) และประเมินอัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของผู้ป่วยภาวะขาดน้ำเป็นค่า เปรียบเทียบ
ผลการศึกษา
ปลายปี ค.ศ. 2004 พบว่าจำนวนผู้ป่วยกลุ่มเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปีที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคปอดอักเสบจากทุกสาเหตุลดลงร้อยละ 39 (95% CI 22-52) ปี ซึ่งเทียบเท่ากับจำนวน 506 (285-674) ครั้งของการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลต่อ 100,000 คนของประชากรกลุ่มเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี แสดงว่าสามารถป้องกันโรคปอดอักเสบได้ 41,000 ครั้งของการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลต่อปี ในช่วงเวลา 8 ปี มีผู้ป่วยโรคปอดอักเสบในกลุ่มเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปีจำนวน 10659 ราย (ร้อยละ 2) ถูกระบุว่าเกิดจากเชื้อนิวโมคอคคัส มีอัตราการติดเชื้อลดลงถึงร้อยละ 65 (47-77) ซึ่งสามารถลดจำนวนครั้งของการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลต่อ 100,000 คนของประชากรกลุ่มเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปีได้ถึง 17 ครั้ง ส่วนอัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของผู้ป่วยกลุ่มเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปีที่มีภาวะขาดน้ำก็คงที่ตลอดในช่วงที่ทำการศึกษา
สรุป
โรคปอดอักเสบจากทุกสาเหตุในกลุ่ม เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี ซึ่งเป็นสัดส่วนเดียวกันกับโรคปอดอักเสบที่เกิดจากจากเชื้อนิวโมคอคคัสใน สหรัฐสามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ผลของการศึกษานี้เป็นอีกหนึ่งหลักฐานที่สนับสนุนประสิทธิภาพของวัคซีน PCV7 ในเด็ก





สมาคมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤตในเด็กแห่งประเทศไทย

สำนักงาน: หน่วยโรคระบบหายใจเด็ก ชั้น 3 ห้อง 304 อาคารศูนย์แพทย์สิริกิต์
โรงพยาบาลรามาธิบดี พญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
โทร. 0635894599

E-mail: thaipedlung.org@gmail.com